พยางค์และคำ
ความหมายของคำ
คำพ้อง
การสร้างคำในภาษาไทย
ชนิดของคำในภาษาไทย
ประโยค
คำภาษาต่างประเทศในภาษาไทย
ระดับของภาษา
คำราชาศัพท์

ธรรมชาติของภาษาและพลังของภาษา

ยอดวิว 52.3k

แบบฝึกหัด

EASY

ธรรมชาติของภาษาและพลังของภาษา (ชุดที่ ๑)

MEDIUM

ธรรมชาติของภาษาและพลังของภาษา (ชุดที่ ๒)

HARD

ธรรมชาติของภาษาและพลังของภาษา (ชุดที่ ๓)

เนื้อหา

ธรรมชาติของภาษา

ธรรมชาติของภาษา คือ ลักษณะทั่วไปของภาษา ซึ่งมีอยู่หลายประการ ในที่นี้จะยกตัวอย่างธรรมชาติของภาษาที่สำคัญ ๓ ประการ ดังนี้

๑) ภาษาประกอบด้วยหน่วยในภาษา

หน่วยในภาษาที่เล็กที่สุด คือ หน่วยเสียง เช่น หน่วยเสียงพยัญชนะ หน่วยเสียงสระ ฯลฯ และจะประกอบกันเป็นหน่วยในภาษาที่ใหญ่ขึ้น ตามลำดับต่อไปนี้

  • หน่วยเสียง
  • พยางค์
  • คำ
  • คำที่ซับซ้อนขึ้น
  • ประโยค

๒) เสียงของคำส่วนใหญ่ในภาษาไม่สัมพันธ์กับความหมาย

ความหมายของคำส่วนใหญ่เกิดจากการสมมติของเจ้าของภาษา เช่น

       สมมติให้ “กล้วย” หมายถึง ผลไม้ชนิดหนึ่ง 
    และสมมติให้ “ปลา” หมายถึง สัตว์น้ำชนิดหนึ่ง
ซึ่งไม่มีส่วนใดของคำว่า กล้วย (ก ล -ัว ย) มีความหมายถึงผลไม้ชนิดหนึ่งนี้ และไม่มีส่วนใดของคำว่า ปลา (ป ล -า) มีความหมายถึงสัตว์น้ำชนิดหนึ่ง
= แสดงว่าเสียงที่ประกอบขึ้นเป็นคำส่วนใหญ่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับความหมาย

แต่ก็มีบางเสียงที่สัมพันธ์กับความหมาย เช่น เสียงสระ เอ เมื่อประกอบขึ้นเป็นคำ คำนั้นมักมีความหมายไปในลักษณะที่ไม่ตรง เช่น เก เข เซ เป๋ โย้เย้ รวนเร เห ฯลฯ

๓) ภาษาใช้สื่อสารได้ตามเจตนาต่าง ๆ

ผู้ใช้ภาษาสามารถใช้ภาษาสื่อสารกันได้ตามเจตนาต่าง ๆ โดยมีเจตนาที่สำคัญ ๓ ประการ ดังนี้

     ๑. แจ้งให้ทราบ เช่น อยากไปเที่ยว

     ๒. ถามให้ตอบ เช่น ใครอยู่ที่นั่น

     ๓. บอกให้ทำ เช่น รีบเดินหน่อย

พลังของภาษา

พลังของภาษา คือ อำนาจของภาษา


  • ภาษาสามารถสร้างสรรค์ (เช่น สร้างประโยชน์ให้สังคม) หรือทำลายสิ่งต่าง ๆ (เช่น สร้างความเดือดร้อนให้ผู้อื่น) ก็ได้

  • ภาษามีอิทธิพลต่อความคิดและความรู้สึก เช่น คนไทยสมัยก่อนไม่นิยมปลูกต้น “ลั่นทม” ไว้ภายในบ้าน เพราะชื่อ “ลั่นทม” ให้ความรู้สึกระทม เป็นทุกข์ ไม่เป็นมงคล

  • ภาษามีอิทธิพลทำให้พฤติกรรมของคนในสังคม
    เปลี่ยนไป
    เช่น เมื่อเปลี่ยนชื่อต้น “ลั่นทม” เป็น “ลีลาวดี” ทำให้คนไทยนิยมปลูกต้นไม้ชนิดนี้ไว้ภายในบ้าน เพราะเห็นว่า “ลีลาวดี” เป็นชื่อที่มีความหมายดีและเป็นมงคล

  • ภาษาโน้มน้าวความคิดและจิตใจของผู้อื่นให้คล้อยตามได้

ทีมผู้จัดทำ